วิธีบริโภคอาหารเสริมให้ปลอดภัย
อาหารเสริม หรืออีกชื่อก็คือ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เป็นสารอาหารที่ใช่รับประทานเพิ่มเติมจากมื้ออาหารหลัก อาจใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางการแพทย์ บำรุงสุขภาพสุขภาพ หรือแม้แต่บำรุงเรื่องอื่น ๆ อย่างผิวพรรณ ส่วนสารอาหารที่มักถูกนำมาทำเป็นอาหารเสริมได้แก่ วิตามิน แร่ธาตุ กรดอะมิโน พืช ผัก สมุนไพรต่าง ๆ เป็นต้น
โดยในปัจจุบันอาหารเสริมนั้นถูผลิตมาให้สามารถรับประทานได้หลากหลายรูปแบบ ทั้งแบบเม็ด แบบแคปซูล แบบผงและแบบน้ำ ซึ่งการบริโภคอาหารเสริมนั้นก็ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร พร้อมศึกษาข้อมูลการบริโภคอาหารเสริมแต่ละชนิดให้ถี่ถ้วนก่อนเสมอ เพราะการรับสารอาหารชนิดใดเข้าสู่ร่างกายมากเกิดพอดี อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพได้เช่นกัน
วิธีบริโภคอาหารเสริมอย่างไรให้ปลอดภัย
- ก่อนรับประทานอาหารเสริมชนิดใด ควรพิจารณาและขอคำปรึกษาจากแพทย์หรือเภสัชกรผู้เชี่ยวชาญในประเด็นต่าง ๆ เช่น ประโยชน์ต่อสุขภาพทั่วไป ประโยชน์และความเหมาะสมต่อสภาพร่างกายของผู้บริโภค ความปลอดภัยและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ วิธีการ ปริมาณ และระยะเวลาที่เหมาะสมต่อการบริโภคเป็นต้น
- ศึกษาข้อมูลบนฉลากผลิตภัณฑ์ก่อนการบริโภคเกี่ยวกับชนิดของอาหารเสริม ส่วนผสมในอาหารเสริม และข้อมูลสำคัญสำหรับผู้บริโภค อย่างวิธีการบริโภคและผลข้างเคียงที่เคยเกิดขึ้นกับผู้บริโภคอื่น ๆ
- ไม่บริโภคอาหารเสริมเพื่อรักษาอาหารป่วยที่ตัวเองสงสัย แต่ยังไม่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าควรบริโภคอาหารเสริมชนิดนั้น
- ไม่บริโภคอาหารเสริมแทนยารักษา หรือบริโภคร่วมกับยารักษา
- หากต้องเข้ารับกาผ่าตัดหรือเข้ารับการรักษาใด ๆ ให้แจ้งกับแพทย์ผู้ดูแลก่อนทุกครั้งว่ากำลังรับประทานอาหารเสริมชนิดใดอยู่
- ผู้ที่วางแผนมีบุตร ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร ต้องระมัดระวังในการใช้อาหารเสริมเป็นอย่างยิ่ง เพราะสารเคมีที่ร่างกายได้รับ อาจส่งต่อไปยังบุตรและทำให้เกิดผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายต่อทารกได้
- แม้จะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ขึ้นชื่อว่าเป็นสารสกัดจากธรรมชาติ แต่ส่วนประกอบต่าง ๆ ในอาหารเสริมก็ไม่ได้รับการยืนยันอย่างแน่ชัดว่าจะมีผลลัพธ์ที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภคเสมอไป ทั้งนี้อาหารเสริมอาจมีส่วนประกอบของสารเคมีที่สามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้บริโภคได้หากบริโภคอย่างผิดวิธี
- หลังบริโภคอาหารเสริม หากพบผลข้างเคียงเป็นอาการเจ็บป่วยใด ๆ ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจรักษาทันที และแจ้งให้แพทย์ทราบว่ากำลังบริโภคอาหารเสริมชนิดใดอยู่
- ผู้ที่มีโรคประจำตัวเช่น โรคตับ โรคไต โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานอาหารเสริม เพราะอาจจะทำให้อาหารของโรคแย่ลง หรือมีผลข้างเคียงต่อยาที่ใช้ในปัจจุบัน
ตัวอย่างผลข้างเคียงและความเสี่ยงจากการบริโภคอาหารเสริม
- เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะมีเลือดออกในผู้ป่วยก่อนหรือหลังผ่าตัด เพราะอาหารเสริมบางชนิดอาจส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยในกระบวนการวางยาสลบได้
- วิตามินซี และวิตามินอี อาจลดประสิทธิภาพผลทางการรักษาด้วยเคมีบำบัดในผู้ป่วยมะเร็งได้
- ธาตุเหล็ก หากบริโภคมากเกินไป อาจทำให้มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน และอาจเกิดความเสียหายภายในตับ
- แคลเซียม หากบริโภคมากเกินไป อาจเพิ่มความเสี่ยงเผชิญภาวะแคลเซียมในเลือดสูง (Hypercalcemia) ซึ่งนำไปสู่การเกิดอาการปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน หรืออาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันได้
แหล่งที่มา : www.pobpad.com
จำหน่ายผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพและปรนนิบัติผิว ด้วยผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ คอลลาเจน | วิตามินซี | อาหารเสริม