เลือกทานอย่างไร ถึงช่วยเสริมสร้างคอลลาเจน

เลือกทานอย่างไร ถึงช่วยเสริมสร้างคอลลาเจน

คอลลาเจน หนึ่งในตัวช่วยยอดนิยมในเรื่อของผิวพรรณและกระดูก เนื่องจากคอลลาเจนเป็นส่วนประกอบของผิวหนัง และข้อต่อกระดูก จึงทำให้ในปัจจุบันอาหารเสริมคอลลาเจน จึงได้รับความนิยมอย่างมาก แต่รู้หรือไม่ว่านอกจากการทานอาหารเสริมคอลลาเจนแล้วนั้น การทานอาหารบางอย่างก็สามารถช่วยเสริมสร้างคอลลาเจนได้ เพียงแค่เราเลือกทานให้ถูกต้อง โดนวันนี้เราจะมาแนะนำอาหารเหล่านั้นกัน

คอลลาเจนคืออะไร

คอลลาเจน คือโปรตีนชนิดหนึ่งที่เป็นส่วนประกอบหลักของผิวหนัง โดยมีสัดส่วนสูงถึง 80% ทำหน้าที่คล้ายกับกาวและเป็นโครงสร้างของเนื้อเยื่อต่าง ๆ ในร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นผิวหนัง กระดูก กล้ามเนื้อ เล็บ เอ็น และข้อ โดยคอลลาเจนจะอยู่ที่ผิวหนังชั้นล่าง (ชั้นหนังแท้ หรือ dermis) ฉะนั้นการทาครีมทั่วไปจะไม่มีผลโดยตรงถึงคอลลาเจนในผิวหนัง โดยในร่างกายคนเรามีคอลลาเจนมากถึง 16 ชนิด โดยชนิดที่เราจะสามารถพบได้บ่อย คือ

  • คอลลาเจนชนิดที่ 1 (Collagen Type I) เป็นชนิดที่พบได้มากที่สุดในร่างกาย ช่วยในการเสริมความยืดหยุ่น การสมานแผล สามารถพบได้ในผิวหนัง เส้นผม กระดูก เนื้อเยื่อ และผนังหลอดเลือด
  • คอลลาเจนชนิดที่ 2 (Collagen Type II) เป็นชนิดที่มีความยืดหยุ่นมากกว่าชนิดที่ 1 พบมากในกระดูก กระดูกอ่อน และข้อต่อ มีหน้าที่ช่วยในการสร้างกระดูกอ่อน
  • คอลลาเจนชนิดที่ 3 (Collagen Type III) เป็นชนิดที่มักจะพบในผิวหนัง กล้ามเนื้อ และหลอดเลือด
  • คอลลาเจนชนิดที่ 5 (Collagen Type V) สามารถพบได้ในบริเวณเดียวกันกับชนิดที่ 1 หรือใต้ชั้นผิวหนัง และในเนื้อเยื่อของทารกในระหว่างตั้งครรภ์

โดยปกติแล้วร่างกายจะมีการสร้างและสลายคอลลาเจนในปริมาณที่สมดุลกัน แต่เมื่อเรามีอายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไป การสร้างคอลลาเจนก็จะลดลงประมาณร้อยละ 1 ต่อปี ในขณะที่อัตราการสลายคอลลาเจนยังเท่าเดิม ทำให้ปริมาณคอลลาเจนในร่างกายลดลงเรื่อย ๆ ส่งผลให้ความแข็งแรงของผิวลดลงเมื่ออายุมากขึ้น และอย่างที่ทุกคนรู้กันดีว่าเมื่อคอลลาเจนใต้ผิวหนังลดลงก็จะเกิดริ้วรอย

เลือกทานอาหารอย่างไร ให้ช่วยเสริมสร้างคอลลาเจน

เราสามารถเลือกการกินอาหารที่ช่วยชะลอการสลายและมีส่วนช่วยในการสร้างคอลลาเจนให้เพิ่มขึ้นได้อีกด้วย และนี่คือ 6 เทคนิคง่าย ๆ ที่จะช่วยให้คอลลาเจนในร่างกายอยู่กับเรานานขึ้น ซึ่งมีดังต่อไปนี้

  • กินโปรตีนต่อวันต้องเพียงพอ ทำให้สร้างคอลลาเจนได้อย่างเต็มที่ อย่างที่รู้กันแล้วว่าคอลลาเจนคือ โปรตีนชนิดหนึ่ง ดังนั้นการกินโปรตีนจากเนื้อสัตว์ นม ไข่ หรือ ธัญพืชต่าง ๆ ให้เพียงพอความต้องการต่อวัน หรือ 1 – 2 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม เช่น ถ้าหากเรามีน้ำหนักตัวที่ 50 กรัม แสดงว่าเราต้องกินโปรตีนให้ได้ 50 – 60 กรัมต่อวัน หรือเทียบเท่ากับการเลือกกินเนื้อสัตว์ไม่ว่าจะเป็นหมู ไก่ ปลา ให้ได้รวม ๆ กันประมาณ 200 – 250 กรัม การกินโปรตีนที่เพียงพอ ร่างกายจะย่อยเป็นกรดอะมิโนเพื่อนำไปสร้างเป็นคอลลาเจนไปใช้ประโยชน์ต่อสภาพผิว ข้อเข่า หรือมวลกระดูก นอกเหนือจากการนำไปปรับสมดุลของโปรตีนในร่างกายนั่นเอง
  • กินอาหารที่เป็นแหล่งของวิตามินซี เพราะวิตามินซีจะช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน และถือเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญที่ช่วยชะลอการสลายของคอลลาเจน โดยแหล่งของวิตามินซี คือ ผักและผลไม้ต่าง ๆ เช่น ฝรั่ง ผักคะน้า บรอกโคลี สตรอเบอร์รี่ ส้ม แอปเปิ้ลแดง มะนาว เบอร์รีชนิดต่าง ๆ เป็นต้น
  • กินอาหารที่เป็นแหล่งของวิตามินเอ เพราะวิตามินเอช่วยกระตุ้นการเติบโตของไฟโบรบลาสต์ (fibroblast) ที่มีหน้าที่สร้างคอลลาเจนและอิลาสตินของร่างกาย ที่ทำให้ผิวพรรณยังเต่งตึง โดยแหล่งอาหารที่มีวิตามินเอ ได้แก่ เนื้อสัตว์ ไข่ นม ผักที่มีสีเขียวเข้มและสีเหลืองส้ม เช่น ตำลึง ผักบุ้ง แครอทมะละกอสุก เป็นต้น
  • กินอาหารที่เป็นแหล่งวิตามินอี เพราะวิตามินอีเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ทำงานคู่กับวิตามินซี โดยแหล่งของวิตามินอี คือ น้ำมันพืชต่าง ๆ เช่น น้ำมันรำข้าว น้ำมันถั่วเหลือง นอกจากนี้ยังพบใน ถั่วอัลมอนด์ อาโวคาโด มะม่วง กีวี เป็นต้น
  • หลีกเลี่ยงอาหารรสหวาน เพราะน้ำตาลจะทำให้เกิดกระบวนการไกลเคชัน (glycation) ที่จะส่งผลให้คอลลาเจนเสียรูปร่างและไม่ยืดหยุ่นแบบที่ควรเป็น
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอวันละ 8 – 10 แก้ว หรือ 2 ลิตรต่อวัน น้ำเปล่าเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยสร้างคอลลาเจนในร่างกาย หากดื่มน้ำไม่พอการสร้างคอลลาเจนก็จะลดลงไปด้วย

ประโยชน์ของคอลลาเจน

  • ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่น ความชุ่มชื้น และลดความหยาบกร้านของผิว
  • ช่วยทำให้ริ้วรอยที่เห็นได้ชัดดูจางลง
  • ลดการเปราะแตกของเล็บ
  • ช่วยชะลอการสลายของมวล
  • ช่วยเรื่องสุขภาพของข้อต่อในกลุ่มผู้สูงอายุ เช่น ลดอาการปวดข้อต่อ เป็นต้น

แหล่งที่มา : www.nestle.co.th

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพและปรนนิบัติผิว ด้วยผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ คอลลาเจน  |  วิตามินซี  |  อาหารเสริม